fbpx

7 โรงพยาบาลรักษาโรครองช้ำ เป็นแล้วรักษาให้หายขาดได้ไหม ปี 2023

Share:

ภาวะที่มีการอักเสบของเอ็นใต้ฝ่าเท้า เป็นโรคที่พบเห็นได้บ่อยในบุคคลที่ชอบทำกิจกรรมยืนหรือวิ่งในเวลานาน ประกอบทั้งบุคคลที่มีการใส่ส้นสูงหรือรองเท้าพื้นแข็งอันส่งผลต่อความไม่ปกติของใต้ฝ่าเท้าให้เกิดการอักเสบได้ง่าย ซึ่งโรครองช้ำนั้นไม่ใช่เพียงแต่จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการบาดเจ็บบริวเณใต้ฝ่าเท้าแต่เพียงอย่างเดียว เพราะถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี มันจะส่งผลให้เส้นเอ็นบริเวณจุดใดจุดหนึ่งที่เชื่อมต่อกับกระดูกอย่างกระดูกสันหลังพลอยอักเสบตามไปด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่งในโรคที่ควรได้รับการรักษาทันทีหากมีอาการ 

Synphaet Hospital

SiPH Hospital

Samitivej Hospital

Bumrungrad Hospital


KDMS Hospital

Rama Hospital

Nakornthon Hospital

จุดเด่น

มีเทคโนโลยีทันสมัยได้มาตรฐาน

เป็นโรงพยาบาลต้นแบบของรัฐ มีราคาถูก

เป็นโรงพยาบาลเอกชน มีเวลาในการรักษาที่รวดเร็ว ไม่ต้องนัดคิวนาน 

เป็นโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ มีแพทย์เฉพาะทางหลายสาขา

เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางกระดูกและข้อโดยตรง

เป็นโรงพยาบาลที่มีแพทย์เฉพาะทางเยอะที่สุด

เป็นโรงพยาบาลที่มีแพทย์เฉพาะทางเยอะที่สุด

รูปแบบการรักษา

ขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้ตรวจ

ใช้ยาลดอักเสบ / บริหารเอ็นร้อยหวาย / ใช้แผ่นรองเท้า

รับประทานยา

รับประทานยา/ ใช้อุปรกรณ์เกี่ยวกับกระดูก

Shockwave

ฝึกยืดหยุ่นเอ็นร้อยหวาย / ใช้คลื่นกระแทกหรือการผ่าตัด

รับประทานยา / ฉีดสเตียรอยด์

รักษาโดยแพทย์ประจำศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.ณรงค์ ตัณฑารักษ์

รศ. นพ. ก้องเขต เหรียญสุวรรณ

นพ. สุวิชาญ บำรุงเชาว์เกษม

นพ.วิทูร บุญถนอมวงศ์

นพ.กรกช ธรรมผ่องศรี

นพ. สุกิจ เลาหเจริญสมบัติ

ผศ.นพ.เฉลิมชัย ลิมิตเลาหพันธุ์

ราคาเริ่มต้น

1,000.-  ขึ้นไป

1,000.-  ขึ้นไป

1,500 ขึ้นไป

1,000.-  ขึ้นไป

1,500.-  ขึ้นไป

1,500.-  ขึ้นไป

1,500.-  ขึ้นไป

เวลาเปิดปิดทำการ

08.00 – 17.00 น.

07.00 – 21.00 น.

09.00 – 17.00 น.

06.30 – 15.00 น.

08.00 – 20.00 น.

07.00 – 16.00 น.

เปิด 24 ชั่วโมง

ช่องทางการติดต่อ

โรครองช้ำคืออะไร

โรครองช้ำคืออะไร อาการเป็นอย่างไร

          โรครองช้ำคือโรคที่เกิดขึ้นในบริเวณฝ่าเท้าของมนุษย์ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้าอันมาจากการใช้งานหรือสะสมของการใช้ฝ่าเท้าเป็นเวลานาน ซึ่งอาการของโรครองช้ำมักจะเกิดอาการปวดแปล็บๆบริเวณส้นเท้าโดยเฉพาะช่วงเวลาที่จะต้องลุกขึ้นเดินหรือยืนในขณะที่นั่งหรือนอนมาเป็นเวลาพอสมควร ซึ่งอาการปวดเหล่านี้จะมีท่าทีเหมือนจะดีขึ้นเมื่อได้เดินมากกว่า 1 ก้าวขึ้นไป และจะกลับมาปวดอีกครั้งเมื่อมีการพักเบรกหรือหยุดเดิน เรียกได้ว่ามีอาการแบบปวดขึ้นมาเป็นครั้งคราว สังเกตได้อย่างชัดเจนว่ามันคือโรครองช้ำ นั่นก็คือ คุณมักจะปวดทุกครั้งในเวลาตื่นนอน หรือจะต้องยกเท้าขึ้นจากพื้นเมื่อเดินมาแล้วกว่าหลายครั้งต่อวัน

 

สาเหตุของโรครองช้ำ

สาเหตุของโรครองช้ำ

          ผู้ที่เป็นโรครองช้ำมักจะมีอาการปวดบริเวณใต้ฝ่าเท้า นั่นก็เพราะมันคือโรคที่เกิดจากอาการอักเสบของเอ็นบริเวณนั้น โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอักเสบดังกล่าวไม่ใช่สิ่งอื่นใด หลักๆก็คือการใช้งานของฝ่าเท้าที่มากจนเกินไป โรคนี้มักจะพบเห็นได้ในผู้ป่วยที่เป็นเพศหญิงเนื่องด้วยเป็นเพศที่จะต้องสวมใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลาหลายชั่วโมง และผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมากจนเกินไป อันก่อให้เกิดการรองรับน้ำหนักของฝ่าเท้าที่เกินจำเป็น

กล่าวแบบสรุปได้ว่า สาเหตุหลักๆ ของการเป็นโรครองช้ำ นั่นก็คือ

    • การใช้งานข้อเท้าเป็นเวลานานไม่ว่าจะเป็นการเดินหรือการวิ่ง เป็นต้น
    • ใส่รองเท้าส้นสูงติดต่อกันหลายชั่วโมง
    • คนที่มีน้ำหนักตัวมากจนเกินไป ส่งผลให้ฝ่าเท้ามีการรองรับน้ำหนักตัวที่เกินแต่พอดี
    • ใส่รองเท้าพื้นแข็งก็มีส่วนในการทำให้เป็นโรครองช้ำ
โรครองช้ำรักษาได้อย่างไรบ้าง

โรครองช้ำรักษาได้อย่างไรบ้าง

         สำหรับวิธีในการรักษาโรครองช้ำ ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมกับอาการบาดเจ็บหรือความเจ็บปวดบริเวณฝ่าเท้าของตัวเองได้ โดยก่อนที่จะเข้ารับการรักษา ผู้ป่วยจะต้องเข้าตรวจเช็คอาการและวิธีที่เหมาะสมในการรักษาโรครองช้ำกับแพทย์ที่ให้การรักษาเสียก่อน ซึ่งวิธีที่สามารถนำมาใช้รักษาโรครองช้ำได้อย่างเป็นทางการ นั่นก็คือ

การรับประทานยา

         การรักษาขั้นพื้นฐานไม่ว่าจะในโรงพยาบาลชั้นนำหรือทั่วไป แพทย์มักจะให้ผู้ป่วยได้รับประทานยา โดยยาที่จะมอบให้แก่ผู้ป่วยโรครองช้ำนั้น ก็จะมี ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาลดอาการอักเสบ เป็นต้น

การทำกายภาพบำบัด

          เมื่อรับประทานยาดังวิธีข้างต้นไปแล้ว แต่ผู้ป่วยยังคงมีอาการเจ็บปวดบริเวณฝ่าเท้าอยู่ แพทย์อาจจะต้องให้ผู้ป่วยทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการบาดเจ็บ โดยการทำกายภาพบำบัดนั้นก็จะเป็นการบริหารเอ็นร้อยหวายและพังผืดฝ่าเท่าตามท่าที่เหมาะสม

การเลือกตัวช่วยเสริมฝ่าเท้า

          อีกหนึ่งวิธีรักษาที่สามารถนำไปใช้คู่กับการทำกายภาพบำบัดเพื่อทำให้การรักษาโรครองช้ำหายขาดได้นั้น นั่นก็คือการใช้ตัวช่วยเสริม โดยอาจจะใช้แผ่นรองเท้าที่อ่อนนุ่มหรือสวมรองเท้าที่เหมาะสมก็ช่วยบรรเทาอาการได้เป็นอย่างดี นอกเหนือจากนี้อาจจะมีการใส่เฝือกอ่อนเพื่อช่วยลดอาการบาดเจ็บในผู้ป่วยที่การเคลื่อนไหวข้อเท้าอยู่เป็นประจำด้วยก็ได้

การผ่าตัด

          ทว่าในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถหายขาดจากการรักษาด้วยวิธีข้างต้นทั้งหมดได้ การผ่าตัดถือเป็นวิธีสุดท้ายและวิธีที่นิยมน้อยที่สุดในการรักษาโรครองช้ำ โดยจะทำการผ่าตัดพังผืดเท้าบางส่วนและนำหินปูนที่กระดูกส้นเท้าออก แน่นอนว่าการทำเช่นนี้ ผู้ป่วยจะหายขาดจากโรครองช้ำได้แบบถาวร

 

รวม 7 โรงพยาบาลรักษาโรครองช้ำให้หายขาด ไม่กลับมาเป็นอีก

การที่จะรักษาโรครองช้ำให้หายขาดได้นั้น ผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาจากแพทย์เฉพาะทาง เนื่องด้วยการรักษาโรคชนิดนี้ค่อนข้างมีความละเอียดอ่อนและมีผลต่อสุขภาพของฝ่าเท้าในระยะยาวเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งวันนี้เราก็ได้รวม 7 โรงพยาบาลที่สามารถรักษาโรครองช้ำหรือโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบให้หายขาดด้วยเหล่าแพทย์เฉพาะทางมาให้ศึกษากัน โดยจะมีโรงพยาบาลใดบ้างนั้นไปดูกันเลย

1. โรงพยาบาลสินแพทย์ (Synphaet Hospital)

Synphaet Hospital

จุดเด่น

มีเทคโนโลยีทันสมัยได้มาตรฐาน

รูปแบบการรักษา

ขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้ตรวจ

รักษาโดยแพทย์ประจำศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.ณรงค์ ตัณฑารักษ์

ราคาเริ่มต้น

1,000.-  ขึ้นไป

เวลาเปิดปิดทำการ

08.00 – 17.00 น.

ช่องทางการติดต่อ

          โรงพยาบาลสินแพทย์ เป็นโรงพยาบาลที่ได้รับ JCI จาก USA มีความพร้อมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและได้มาตรฐาน สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเป็นโรครองช้ำ ทางโรงพยาบาลจะรักษาด้วยการให้ทำกายภาพบำบัด ดูแลเอ็นฝ่าเท้า ทั้งนี้การรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ตรวจและให้การรักษาที่เหมาะสมเพื่อให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นและหายได้ในเร็ววัน

Pros

–            มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตรวจและให้การรักษาที่เหมาะสม

–            ค่ารักษามีราคาที่ย่อมเยา

Cons

–            ใช้ระยะเวลาค่อนข้างจะนานในการนัดหมายเพื่อรักษา  เนื่องด้วยเป็นโรงพยาบาลรัฐ

–            เป็นโรงพยาบาลที่มีสาขาอยู่แต่ภายในกรุงเทพหรือจังหวัดที่จะต้องเดินทางไกลอย่างเช่น กาญจนบุรี นครปฐม เป็นต้น ซึ่งยากลำบากต่อผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในจังหวัดทางภาคใต้หรือภาคตะวันออก

2. โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (SiPH Hospital)

SiPH Hospital

จุดเด่น

เป็นโรงพยาบาลต้นแบบของรัฐ มีราคาถูก

รูปแบบการรักษา

ใช้ยาลดอักเสบ / บริหารเอ็นร้อยหวาย / ใช้แผ่นรองเท้า

รักษาโดยแพทย์ประจำศูนย์กระดูกและข้อ

รศ. นพ. ก้องเขต เหรียญสุวรรณ

ราคาเริ่มต้น

1,000.-  ขึ้นไป

เวลาเปิดปิดทำการ

07.00 – 21.00 น.

ช่องทางการติดต่อ

         โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เป็นหนึ่งในโรงพยาลบาลรัฐที่เรียกได้ว่าเป็นต้นแบบแห่งโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานของไทย มีวิธีรักษาโรครองช้ำที่หลากหลาย  เช่น ใช้ยาลดอักเสบ บริหารเอ็นร้อยหวาย ใช้แผ่นรองเท้าและเข้าผ่าตัดกับแพทย์เฉพาะทาง เป็นต้น 

Pros

–            ผู้ป่วยสามารถปรึกษาและเข้ารับการตรวจอาการที่ทำให้บาดเจ็บได้ฟรี 24 ชั่วโมง ผ่านช่องทางออนไลน์

–            มีทางเลือกในการรักษาที่หลากหลาย เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีขึ้น

Cons

–            ใช้ระยะเวลาในการนัดหมายเพื่อรักษานานกว่าโรงพยาบาลอื่นๆ

–            มีแพทย์เฉพาะทางในการผ่าตัดเกี่ยวกับโรครองช้ำไม่มากนัก หากผู้ป่วยมีอาการร้ายแรงหรือรักษาด้วยวิธีขั้นพื้นฐานแล้วไม่หาย ก็อาจจะเสียเวลาไปกับการรอคอยให้แพทย์มีเวลาว่างในการผ่าตัด

3. โรงพยาบาลสมิติเวช (Samitivej Hospital)

Samitivej Hospital

จุดเด่น

เป็นโรงพยาบาลเอกชน มีเวลาในการรักษาที่รวดเร็ว ไม่ต้องนัดคิวนาน 

รูปแบบการรักษา

รับประทานยา

รักษาโดยแพทย์ประจำศูนย์กระดูกและข้อ

นพ. สุวิชาญ บำรุงเชาว์เกษม

ราคาเริ่มต้น

1,500 ขึ้นไป

เวลาเปิดปิดทำการ

09.00 – 17.00 น.

ช่องทางการติดต่อ

          โรงพยาบาลสมิติเวช เป็นโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำในประเทศ โดยจะมีวิธีการรักษาโรครองช้ำโดยวิธีการง่ายๆ คือการรับประทานยา เช่น ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น นอกเหนือจากนี้หากผู้ป่วยมีอาการบาดเจ็บที่รุนแรงหรือก็คือการใช้วิธีทายยาแล้วไม่สามารถทำให้ทุเลาลงได้ ก็อาจจะต้องทำกายภาพบำบัด โดยใช้ความร้อนแบบอัตร้าซาวด์ดัดยืดเส้นเอ็น 

Pros

–            รักษาโรครองช้ำโดยวิธีง่ายๆ เช่น การรับประทานยา เป็นต้น ซึ่ง เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ชอบการรักษาที่ยุ่งยาก

–            ในกรณีจะต้องทำกายภาพบำบัดเพื่อรักษา  จะเป็นการทำโดยใช้ความร้อนแบบอัตร้าซาวด์ดัดยืดเส้นเอ็น ส่งผลให้บรรเทาความเจ็บปวดลงได้ในทันที

Cons

–            มีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง เพราะเป็นโรงพยาบาลเอกชน

–            มีเวลาเปิดปิดทำการที่รวดเร็วและไม่มีการรักษาแบบนอกเวลา

4. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (Bumrungrad Hospital)

Bumrungrad Hospital

จุดเด่น

เป็นโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ มีแพทย์เฉพาะทางหลายสาขา

รูปแบบการรักษา

รับประทานยา/ ใช้อุปรกรณ์เกี่ยวกับกระดูก

รักษาโดยแพทย์ประจำศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.วิทูร บุญถนอมวงศ์

ราคาเริ่มต้น

1,000.-  ขึ้นไป

เวลาเปิดปิดทำการ

06.30 – 15.00 น.

ช่องทางการติดต่อ

          โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เป็นโรงพยาบาลที่ค่อนข้างทันสมัย มีวิธีการรักษาโรครองช้ำหลากหลายวิธี หลักๆจะเน้นการให้รับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์หรือใช้อุปกรณ์เกี่ยวกับกระดูก เช่น อุปกรณ์เสริมอุ้งเท้าด้านใน เป็นต้น การรักษาโดยไม่ใช้สเตียรอยด์นั้นถือเป็นการรักษาที่ตรงจุดและตอบโจทย์ในเรื่องของการรักษาโรครองช้ำได้แป็นอย่างดี อีกทั้งโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เองยังป็นโรงพยาบาลเอกชนที่มีราคาในการเข้ารับบริการที่คุ้มค่า แม้ว่าการรักษาจะเทียบเท่ากับโรงพยาบาลชั้นนำมากมาย แต่ราคาก็จับต้องได้อย่างไม่น่ากลัว 

Pros

–  มีวิธีรักษาโรครองช้ำหลากหลายวิธี 

–            มีอุปกรณ์เกี่ยวกับกระดูก เช่น อุปกรณ์เสริมอุ้งเท้าด้านใน เข้ามาช่วยเหลือ ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดและใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ

Cons

–            ให้คำปรึกษาและเข้ารับการรักษาแบบค่าใช้จ่ายสูง

–            เปิดให้บริการอยู่ที่กรุงเทพเพียงที่เดียว ไม่มีสาขาในจังหวัดอื่นๆ ยากต่อการเดินทางมารักษาของผู้ป่วยต่างจังหวัด

5. โรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข (KDMS Hospital)

KDMS Hospital

จุดเด่น

เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางกระดูกและข้อโดยตรง

รูปแบบการรักษา

Shockwave

รักษาโดยแพทย์ประจำศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.กรกช ธรรมผ่องศรี

ราคาเริ่มต้น

1,500.-  ขึ้นไป

เวลาเปิดปิดทำการ

08.00 – 20.00 น.

ช่องทางการติดต่อ

          โรงพยาบาลเฉพาะทางกระดูกและข้อ มีวิธีการรักษาโรครองช้ำที่เรียกได้ว่าเด็ดขาด โดยเฉพาะการรักษาด้วย Shockwave ซึ่งเป็นการรักษาโดยใช้เครื่องมือยิงคลื่นเสียงเข้าไปกระแทกจุดเกาะเอ็นพังผืดที่บาดเจ็บเพื่อกระตุ้นการลดอักเสบ 

Pros

–            รักษาโดยวิธีการทันสมัย ใช้ Shockwave เพื่อลดอาการบาดเจ็บ

–      ให้คำปรึกษาฟรี สามารถพูดคุยและสอบถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผ่านช่องทางออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว

–            มีแพทย์เฉพาะทางจำนวนมาก เพียงพอต่อการรับมือกับโรครองช้ำได้เป็นอย่างดี

Cons

–            ค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงกว่าปกติ

–            เส้นทางในการเดินทางไปรักษาค่อนข้างลำบาก อยู่ในทำเลที่ไม่เหมาะจะเดินทาง บริเวณรอบข้างมีการจราจรที่ติดขัดและแน่นหนา

6. โรงพยาบาลรามาธิบดี (Rama Hospital)

Rama Hospital

จุดเด่น

เป็นโรงพยาบาลที่มีแพทย์เฉพาะทางเยอะที่สุด

รูปแบบการรักษา

ฝึกยืดหยุ่นเอ็นร้อยหวาย / ใช้คลื่นกระแทกหรือการผ่าตัด

รักษาโดยแพทย์ประจำศูนย์กระดูกและข้อ

นพ. สุกิจ เลาหเจริญสมบัติ

ราคาเริ่มต้น

1,500.-  ขึ้นไป

เวลาเปิดปิดทำการ

07.00 – 16.00 น.

ช่องทางการติดต่อ

          โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยในหลายๆ สาขาด้านการแพทย์ มีทีมแพทย์และพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วย โดยมีอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อนำมาช่วยวินิจฉัยและวางแผนการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้รังสีแม่เหล็กแกว่งเพื่อช่วยปรับรูปแบบของเท้า เพื่อลดการเสื่อมสภาพของรอยเท้าและความเจ็บปวด และมีการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของเท้า รวมถึงการแนะนำวิธีการเลือกและใช้รองเท้าที่เหมาะสม

Pros

–            มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีฝีมือในการรักษา

–            ไม่ใช้สเตียรอยด์ในผู้ป่วยโรครองช้ำ

–            มีเครื่องมือในการผ่าตัดหรือวิธีรักษาที่แบบครบครัน

Cons

–            ผู้ป่วยเยอะ คิวในการรักษาแน่นแทบทุกปี

7. โรงพยาบาลนครธน (Nakornthon Hospital)

Nakornthon Hospital

จุดเด่น

เป็นโรงพยาบาลที่มีแพทย์เฉพาะทางเยอะที่สุด

รูปแบบการรักษา

รับประทานยา / ฉีดสเตียรอยด์

รักษาโดยแพทย์ประจำศูนย์กระดูกและข้อ

ผศ.นพ.เฉลิมชัย ลิมิตเลาหพันธุ์

ราคาเริ่มต้น

1,500.-  ขึ้นไป

เวลาเปิดปิดทำการ

เปิด 24 ชั่วโมง

ช่องทางการติดต่อ

          โรงพยาบาลนครธน เป็นโรงพยาบาลที่ขึ้นชื่อเรื่องความชำนาญในการรักษาโรคยากและซับซ้อน ซึ่งจะมีวิธีในการรักษาโรครองช้ำได้ด้วยการรับประทานหรือฉีดสเตียรอยด์เฉพาะที่ ทั้งนี้อาจจะมีการรักษาด้วยตัวเองควบคู่กันไปด้วย อาทิ หยุดกิจกรรมที่ต้องใช้เท้าเป็นเวลานานหรือควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากจนเกินไป เป็นต้น  

Pros

–            รักษาถูก เนื่องด้วยเน้นการรักษาแบบพึ่งพาตัวเองควบคู่กันไป อาทิ ลดน้ำหนักหรือลดปริมาณการใช้ฝ่าเท้า เป็นต้น

–            ให้บริการตลอดเวลา ในค่ารักษาที่จำนวนเท่าเดิม

Cons

           ใช้สเตียรอยด์ในการรักษา แม้จะเป็นการรักษาแบบเฉพาะจุดแต่ก็อาจส่งผลในกลุ่มผู้ป่วยบางราย ได้

–            การรักษาค่อนข้างใช้เวลานาน เพราะทางโรงพยาบาลเน้นให้ผู้ป่วยรักษาด้วยตัวเอง

โรครองช้ำคือโรคที่เกิดขึ้นในบริเวณฝ่าเท้าของมนุษย์ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้าอันมาจากการใช้งานหรือสะสมของการใช้ฝ่าเท้าเป็นเวลานาน ซึ่งอาการของโรครองช้ำมักจะเกิดอาการปวดแปล็บๆบริเวณส้นเท้าโดยเฉพาะช่วงเวลาที่จะต้องลุกขึ้นเดินหรือยืนในขณะที่นั่งหรือนอนมาเป็นเวลาพอสมควร ซึ่งอาการปวดเหล่านี้จะมีท่าทีเหมือนจะดีขึ้นเมื่อได้เดินมากกว่า 1 ก้าวขึ้นไป และจะกลับมาปวดอีกครั้งเมื่อมีการพักเบรกหรือหยุดเดิน เรียกได้ว่ามีอาการแบบปวดขึ้นมาเป็นครั้งคราว

โรครองช้ำ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น

  1. การใช้งานข้อเท้าเป็นเวลานานไม่ว่าจะเป็นการเดินหรือการวิ่ง 
  2. ใส่รองเท้าส้นสูงติดต่อกันหลายชั่วโมง
  3. คนที่มีน้ำหนักตัวมากจนเกินไป ส่งผลให้ฝ่าเท้ามีการรองรับน้ำหนักตัวที่มากเกินไป
  4. ใส่รองเท้าพื้นแข็งก็มีส่วนในการทำให้เป็นโรครองช้ำ

โรครองช้ำสามารถรักษาได้หลายวิธี โดยหลักแล้วสามารถรักษาด้วยกันดังนี้

  • การรับประทานยา
  • การทำกายภาพบำบัด
  • การเลือกตัวช่วยเสริมฝ่าเท้า
  • การผ่าตัด
Related Suggest
รวมมาให้แล้วกับ 7 คลินิก แก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ที่ไหนดี ปี 2024!

รวมมาให้แล้วกับ 7 คลินิก แก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ที่ไหนดี ปี 2024!

กล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรงนั้นไม่ใช่แค่เรื่องของความสวยงาม แต่ยังกระทบกับชีวิตประจำวันอีกด้วย ใครเป็นแต่ไม่รู้ว่าจะแก้ที่ไหนดี เรามีคำตอบ

Continue reading

แนะนำ 5 บัตรกดเงินสดเงินเดือน 12000 เอกสารน้อย อนุมัติง่าย ปี 2024

แนะนำ 5 บัตรกดเงินสดเงินเดือน 12,000 เอกสารน้อย อนุมัติง่าย ปี 2024

เงินเดือน 12,000 บาท ก็มีสิทธิ์สมัครบัตรกดเงินสดไว้ใช้ยามฉุกเฉินได้! บทความนี้เราขอแนะนำ 5 บัตรกดเงินสดเงินเดือน 12000 สมัครง่าย เอกสารน้อย อนุมัติไว ปี 2024!

Continue reading

รวม 5 เครื่องไล่ยุงไฟฟ้า ยี่ห้อไหนดี สยบยุงหายเรียบ ปี 2024!

รวม 5 เครื่องไล่ยุงไฟฟ้า ยี่ห้อไหนดี สยบยุงหายเรียบ ปี 2024!

ยุงสัตว์ตัวเล็กกวนใจที่สร้างทั้งความรำคาญ และโรคร้าย มากำจัดด้วยเครื่องไล่ยุงไฟฟ้ากัน ยี่ห้อไหนดี ไล่ยุงได้จริงบ้าง มาดูกัน

Continue reading

Categories
Technology

อุปกรณ์ไอที, PC, โน๊ตบุ๊ค

Keyboard

คีย์บอร์ด

Smart Phone

โทรศัพท์มือถือ

Smart Home

บ้านอัจฉริยะ

Gadget

เก็ตเจ็ต

Wellness

สุขภาพ และความงาม

Clinic

คลีนิก

Hospital

โรงพยาบาล

Health

สุขภาพร่างกาย

Supplementary

อาหารเสริม

Medical Equipment

อาหาร และยา

Beauty

เครื่องสำอาง

Food

อาหาร

Convenience Food

อาหารสะดวกซื้อ

Fashion

เสื้อผ้า

Accessories

สร้อย, แหวน, กระเป๋า, อื่นๆ

Book

หนังสือ

Games

เกมส์

Home and Garden

บ้าน และสวน

Pet

สัตว์เลี้ยง

Insurance

ประกันภัย

Real Estate

บ้าน, คอนโด, ที่พักอาศัย

Kids

เด็ก

Vehicle

รถยนต์

Wristwatch

นาฬิกา

Furniture

เฟอร์นิเจอร์

DIY

ข้าวของเครื่องใช้,
สิ่งประดิษฐ์

Hotel

โรงแรมที่พัก

Travel

ท่องเที่ยว

Language Institute

สถาบันสอนภาษา

Dairy Product

ผลิตภัณฑ์นม

Houseware

เครื่องใช้ภายในบ้าน

Luandry

ซักรีด

Kitchenware

เครื่องใช้ในครัว

Personalcare

ผลิตภัณฑ์ดูแลตัวเอง

Program

โปรแกรม